การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

แผนงานฝึกอบรม กำหนดผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม โดยอ้างอิงตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยแพทย์ที่จบการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังต่อไปนี้
๑. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
๑.๑ สามารถให้การบริบาลระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพสำหรับทุกกลุ่มอายุ (High quality primary care for all age groups) 
๑.๒ สามารถให้การดูแลที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ (Comprehensive care)
๑.๓ ดูแลผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งผู้ป่วยเฉียบพลัน (Acute care) และผู้ป่วยเรื้อรัง (Chronic care)  สามารถรับปรึกษา และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม 
๑.๔ ดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม (Appropriated inpatient care)
๑.๕ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และทุพพลภาพ 
๑.๖ สามารถให้การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)

๒. ความรู้และทักษะเวชกรรม (Medical Knowledge and Skills)
๒.๑ เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจ ของระดับบุคคลทุกกลุ่มวัย 
๒.๒ มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว 
๒.๓ ดูแลโดยมุ่งเน้นครอบครัว (Family Oriented Approach)
๒.๔ ดูแลโดยมุ่งเน้นชุมชน (Community Oriented Approach)
๒.๕ มีความเชี่ยวชาญในด้านเวชศาสตร์ครอบครัวในกลุ่มประชากรหรือการรักษาที่ลักษณะจำเพาะ

๓. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal Skills and Communication)
๓.๑ นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 
๓.๒ มีทักษะการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติ (Person-centered and Holistic Care) 
๓.๓ มีทักษะการเป็นผู้นำทีมให้การรักษาทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการเคารพกันระหว่างสมาชิกในทีมตลอดจนประชากรในชุมชนที่รับผิดชอบ 
๓.๔ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วย (Doctor-patient-family relationship) โดยสามารถสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัวและชุมชน ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ มีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
๓.๕ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ  (Coordinate care)
๓.๖ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะทางเวชศาสตร์ ครอบครัว

๔. การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (Practice- based Learning and Improvement)
๔.๑. มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของระบบงานบริการปฐมภูมิผ่านการปฏิบัติ (Practice-Based)
๔.๒. มีความสนใจเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ดี
๔.๓. มีสามารถดำเนินงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการแพทย์ที่ตอบสนองต่อปัญหาของระบบสุขภาพได้
๔.๔. วิพากษ์บทความ งานวิจัยทางการแพทย์ หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ในลักษณะต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

๕. พฤติกรรมแห่งวิชาชีพ (Professionalism)
๕.๑ มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ  และชุมชน 
๕.๒ มีความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่นเพิ่มพูนทักษะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Continue medical education and continue professional development)
๕.๓ มีทักษะ non-technical skills 
๕.๔ มีความรับผิดชอบต่อผู้ป่วย สังคม วิชาชีพ และต่อตนเอง
๕.๕ มีความเห็นอกเห็นใจ ความเคารพต่อผู้อื่น และยึดมั่นในหลักการทางเวชจริยศาสตร์

๖. การปฏิบัติบนฐานแห่งระบบ (Systems- based Practice)
๖.๑ มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามนโยบายเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพไทยโดยคำนึงถึง ประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้ 
บทบาทของการแพทย์ทางเลือก 
ระบบสุขภาพและการพัฒนาสาธารณสุข
ระบบประกันสุขภาพ 
นโยบายการใช้ยาระดับชาติ บัญชียาหลักแห่งชาติ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล 
กฎหมายทางการแพทย์ หลักการบริหารจัดการต่างๆ 
บทบาทอนาคตในการบริการสุขภาพ
พฤติกรรมแห่งวิชาชีพ
๖.๒ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ ออกแบบระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care Management) ให้เหมาะสม กับบริบทที่ปฏิบัติงาน
๖.๓ มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย 
๖.๔ ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขโดยอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานวิชาชีพ 
๖.๕ สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลให้กับประชากรในความดูแล (Resource Personof  a Defined Population) 
๖.๖ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการแพทย์ โดยคำนึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) 
๖.๗ สามารถร่วมดำเนินการการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  (Quality Assurance - QA and Continuous Quality Improvement - CQI)

โดยแพทย์ประจำบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีความสามารถในทุกด้านของผลสัมฤทธิ์ของแผนงาน และ ต้องมีความสามารถในกิจกรรม  ก่อนสำเร็จหลักสูตร  กิจกรรมสมรรถนะองค์รวม (Entrustable Professional Activity: EPA) ๗ กิจกรรม ดังนี้

- การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน (Home care for patient and family
- การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
- การดูผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (Care for patients with chronic diseases)
- การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับ บุคคล ครอบครัว และชุมชน (Health promotion and disease prevention for individual, family and community)
- การดูแลผู้ป่วยนอกที่ครอบคลุมทั้งการรักษาส่งเสริมป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ (Comprehensive ambulatory Care)
- การพัฒนางานด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับชุมชนและระบบสุขภาพในพื้นที่ (System and community based practice)
- การทำงานวิจัยด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (Research in family medicine)

 

 

 

 
 
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ผลสัมฤทธิ์แผนงานฝึกอบรม
โครงสร้าองค์กร
เครือข่ายหน่วยปฐมภุูมิ
(หน่วยตรวจโรค)
หลักสูตร
ประกาศ
Link หน่วยงานสำคัญ

การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตึก 8 ช้ัน ชั้น 8
315 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.10400