การวิเคราะห์ SWOT ของหน่วยตรวจโรคที่ ๓ (พัน.สห.๑๑)

 

STRENGTHS

1.  ที่ตั้งอยู่ใกล้ รพ.รร.6

2.  เป็นชุมชนที่สามารถขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานอื่นได้ เช่น หน่วยบริการสาธารณสุข กองควบคุมโรค สำนักงานเขตราชเทวี

3.  บุคลากรอยู่ในระเบียบวินัย และพร้อมให้ความร่วมมือ

4.  เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก สามารถสื่อสารกันในแนวราบ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชากร และหน่วยในพื้นที่

5.  สะดวกในการเดินทางเข้ามาใช้บริการของหน่วยในพื้นที่

6.  หน่วยมีสถานีวิทยุ สามารถให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ทางเสียงตามสายได้

7.  บุคลากรมีความสามรถในด้านการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น

 

WEAKNESSES

1.  ระบบงาน เป็นระบบที่ยังไม่มี Online มีปัญหาในการเบิกใช้ยา และเวชภัณฑ์สำหรับพลทหาร

2.  กำลังพลไม่คงที่ และไม่พอเพียง รวมถึงยังขาดความชำนาญในงานธุรการและส่งกำลังบำรุง การจัดการยา งานชุมชน

3.  กำลังพลบางส่วนมีปัญหาด้านที่อยู่อาศัย การเดินทาง

4.  ขาด / ไม่เพียงพอ สมรรถนะของ สป.ถาวรบางอย่าง เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์ ตู้เก็บเอกสารต่างๆ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น

5.  ความไม่สะดวกและสิ้นเปลืองในกิจกรรมทาง logistic เช่น การไปรับ/คืนยาและเวชภัณฑ์, การรับ-ส่งเอกสาร

6.  ขาดแคลนแพทย์

 

OPPORTUNITIES

1.  สามารถให้บริการ การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และ เป็น Online ในอนาคต

2.  การได้รับความร่วมมือจาก สห.ทบ. และ พัน.สห.ที่ ๑๑ในการดำเนินงาน

3.  การได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรพ.รร.6

4.  ได้รับการเปิดโอกาสในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เหมาะกับบริบทจากหน่วยต้นสังกัดนโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพของรัฐบาล

5.  นโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพของรัฐบาล

 

THREATS

1.  ภาวะโรคอุบัติใหม่ต่างๆ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัด 2009 ฯลฯ

2.  ความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อ

    หน่วยตรวจโรค

3.  นโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพของรัฐบาล

4.  ความขาดแคลนกำลังพล และนโยบายในการลดกำลังพลของ ทบ.

5.  ข้อจำกัดด้านงบประมาณ

6.   การพัฒนาบริการด้านสุขภาพของเอกชน และรัฐบาลในพื้นที่ใกล้เคียง

 

 

 

 

SO การนำข้อได้เปรียบของจุดแข็ง ภายในและโอกาสภายนอกมาใช้

1.   สามารถประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบถึงข้อมูล ข่าวสารต่างๆได้

2.   สามารถส่งต่อไปยัง รพ.พระมงกุฎเกล้า ได้สะดวกโดยง่าย

3.   สามารถจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้สวดคล้องต่อนโยบายฯ และเหมาะสมกับกำลังพลในพื้นที่

4.      สามารถร้องขอความช่วยเหลือกับหน่วยอื่นๆ ในการให้บริการ สนับสนุนนโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพของรัฐบาล

5.   การแบ่งปันทรัพยากร ได้แก่ การแบ่งปันการจัดบอร์ดให้ความรู้ การสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยข้างเคียงในการจัดโครงการให้ความรู้

6.   การได้รับการสนับสนุน Internet / Intranet จากรพ.รร.๖ เพื่อสนองต่อนโยบายของหน่วยต้นสังกัด

7.   พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานในด้านงานสารสนเทศ

 

WO การแก้ไขจุดอ่อนภายในโดย พิจารณาจากโอกาสภายนอก ที่เป็นผลดีต่อองค์กร

1.   พัฒนาระบบงานให้เหมาะสมกับนโยบายของรพ.รร.๖ ในการเบิกจ่าย ยาและเวชภัณฑ์

2.   เตรียมความพร้อมระบบงานเพื่อที่จะ พัฒนาในการปรับปรุงระบบงานเป็น Online ในอนาคต

3.   พัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยการส่งอบรมความรู้ต่างๆ เช่นงานธุรการ สารบรรณ ส่งกำลัง

4.   สำรวจสมรรถนะ สิ่งสป.ต่างๆ เพื่อจัดหาทดแทนในกรณีที่ขาดสมรรถนะ และจำหน่ายสป.ที่มีอายุการใช้งานมานาน

5.   ปรับระบบงาน Logistic เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรในงานด้าน Logistic เช่นการจัดยานพาหนะและเจ้าหน้าที่ ร่วมกันในหน่วยตรวจโรคในการทำงานด้าน Logistic

ST การแก้ไขหรือลดอุปสรรคภายนอกโดยนำจุดแข็งภายในมาใช้

1.   การรณรงค์ ให้ความรู้ การดูแลสุขภาพในชุมชน ก่อนการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆของโรค

2.   ใช้การประชาสัมพันธ์ และการเยี่ยมบ้านในการให้การดูแลสุขภาพ

3.   การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (บุคลากร, อุปกรณ์) ของหน่วยตรวจโรคในการให้ความรู้ การสร้างเสริมสุขภาพของหน่วย

4.   การดูแลอาคาร สถานที่ ให้มีความสะดวก สบายและสวยงาม

5.   การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆที่ให้การสนับสนุน เช่นศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรค เป็นต้น

6.   การดูแลการบริการงานภายในหน่วย ให้มีระบบ สะดวก เป็นกันเอง

7.   การให้การบริการแก่ผู้ที่มารับบริการ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และพึงพอใจ

8.   การปลูกฝังและการดำเนินงาน ๕ ส. ให้มีวันพัฒนาหน่วยงานร่วมกัน มีBig Cleaning Day

WT การแก้ไขหรือลดความเสียหาย อันเกิดจากจุดอ่อนภายในองค์กรและอุปสรรคภายนอก

1.   การปรับปรุงระบบงาน ให้เหมาะสมกับนโยบายของหน่วยต้นสังกัด

2.   การจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

3.   ค้นหาความเสี่ยงที่มี / อาจเกิดมีของหน่วย และหาแนวทางการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

4.   สำรวจประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข

5.   การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพลตามความเหมาะสม

6.   การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆที่ให้การสนับสนุน เช่นศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรค เป็นต้น